วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

                  อุไรวรรณ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
              ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
             ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
          ยุพิน พิพิธกุล (2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
                   1. ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
                   2. เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
                   3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
                   4. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
                   5. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                   6. การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ
             ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
          เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง       ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
          1. วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
                   ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
                   ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
                   ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
                   ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
          2. อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
          3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
          4. สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น
               แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
          สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
          1. ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
          2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
          3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
          4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
          5. การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
          6. ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ
        
               นิภา แย้มวจี (2552) ได้รวบรวมไว้ว่า สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้  สื่อการเรียนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละคาบ
             คุณค่าและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
          1. ช่วยให้ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการตอบสนองตามที่คาดหวัง จะให้เกิดในตัวนักเรียน
          2. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ให้ นักเรียนได้หลายรูปแบบเช่น ใช้เทปเสียง วีดีทัศน์ การสาธิต หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
          3. ช่วยครูในการเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ให้แก่นักเรียน เช่น ทำรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ สไลด์ มาให้เด็กชม
          4. ช่วยครูจำลองของแทนของจริงที่ไม่สามารถนำมาให้ดูได้ เช่นการเดินทางของดวงจันทร์หมุนรอบโลก ลูกโลก
          5. ช่วยครูสื่อความหมายกับนักเรียนได้ดีขึ้น
          การพิจารณาเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจ สนุกสนาน และบรรลุ                        วัตถุประสงค์
          1. ความเหมาะสม สื่อเหมาะกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
          2. ความถูกต้อง สื่อช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปถูกต้อง
          3. ความเข้าใจ สื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
          4. เหมาะสมกับวัย สื่อมีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
          5. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้อง
          6. ใช้การได้ดี เพื่อใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้
          7. คุ้มกับราคา ผลที่ได้คุ้มกับเวลา เงินและการเตรียม
          8. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการ
          9. ช่วงเวลา ความสนใจ สื่อช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจ ช่วงเวลานานพอสมควร
       แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนหมวดวิชาคณิตศาสตร์
          วิชาคณิตศาสตร์ เป็นทักษะเชิงสติปัญญาที่ต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาสูงกว่าทักษะทางกายอื่น ๆ เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์เป็นประสบการณ์นามธรรม สิ่งที่ผู้เรียนได้พบเห็นส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวน ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยจะมีปัญหาด้านนามธรรม การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงมุ่งไปที่การสร้างสภาพการณ์และประสบการณ์รูปธรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจประสบการณ์นามธรรมดีขึ้น สื่อการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีตั้งแต่วัสดุที่ใช้แทนจำนวนไปจนถึงสื่อที่สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง เช่น แสดงการเกิดสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในรูปของภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์ เป็นต้น
      การผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ มีข้อคิด ดังนี้
          1. ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
          2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์หรือ "KIT" ประกอบด้วย
          3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
          4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล๊อค หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
          5. การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
          6. ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

           http://pay-ppp.blogspot.com/2009/08/blog-post_23.htm ได้รวบรวมไว้ว่าสื่อการสอนคณิตศาสตร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
             1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ประเภทวัสดุแบ่งได้เป็น 2 พวก
            1.1 วัสดุที่ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น กระดาษที่นำมาใช้ในกิจกรรมตัดกระดาษเพื่อหาพื้นที่ ของรูปทรง หาพื้นที่ผิวของกรอบ กิจกรรมพับกระดาษให้เป็นรูปทรงต่างๆ ฟิล์มเอ๊กซเรย์ที่ใช้แล้ว เพื่อใช้ในการสร้างรูปทรงสามมิติ เช่น ลูกบาศก์ ปิระมิด ปริซึม และรูปภาคตัดกรวย เชือก ถ่านไฟฉายและหลอดไฟ หลอดกาแฟ หรือลวดเพื่อใช้ในการสร้างรูปทรงสามมิติต่างๆ เป็นต้น วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิล์มเอ๊กซ์เรย์ที่ใช้แล้วสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากมาย และสามารถขอได้จากโรงพยาบาลทั่วไป
            1.2 วัสดุจำพวกสิ่งตีพิมพ์ เช่น แผนภูมิ กราฟ บัตรงาน เอกสาร ที่พิมพ์เกี่ยวกับแบบฝึกหัด
ปัญหาโจทย์หรือข้อสอบรวมทั้งตำราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกปฏิบัติคณิตศาสตร์ หนังสือเสริมทักษะ
             2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
             อุปกรณ์บวกลบคูณหารแบบเนเปียร์ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง กระดานตะปู นาฬิกาจำลอง กระดานเศษส่วน กระดานเส้นจำนวน ลูกบาศก์ และกล่องหาปริมาตรปริซึมต่างๆ ปิระมิดแบบต่างๆ ปริซึมฐานหลายเหลี่ยมบรรจุใน ปิระมิด เครื่องมือคิดเลขฐานสอง เครื่องทดลองความน่าจะเป็น เครื่องมือสอนทฤษฎีปิธากอรัส แบบต่างๆ เครื่องมือ วัดมุม วงกลมหนึ่งหน่วย ภาคตัดกรวย ชุดแผนภูมิประมาณพื้นที่ของวงกลม ชุดแผนภูมินำเสนอข้อมูล ชุดแผนประมาณความยาวของเส้นรอบวงของวงกลม อุปกรณ์ชุดประมาณค่า อุปกรณ์แสดงปริมาตรของวงกลมโดยอาศัยความยาวของเชือก อุปกรณ์ชุดแยกตัวประกอบที่อยู่ในรูป ( ax + by )2 และ ( ax + by )3 โมโนกราฟ ภาพชุดของ นักคณิตศาสตร์เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งใช้สาธิตให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริง ส่วนหนึ่งเป็นเครื่องมือทดลองปฏิบัติ อุปกรณ์อีกพวกหนึ่งในกลุ่มนี้เป็นพวกที่ใช้ประกอบในการทดลองหรือการปฏิบัติทางคณิตศาสตร์ หรือใช้ในห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ เช่น กรรไกร ที่ตัดกระดาษ ไม้ฉาก วงเวียน เครื่องมือเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีไว้ในห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์
           3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
           สื่อการสอนประเภทวิธีการ ได้แก่ วิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ต่างๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ สื่อการสอนประเภทวิธีการซึ่งนำมาใช้ ได้แก่ วิธีการอุปมาน ( Inducton ) วิธีการอนุมาน ( Deduction ) และวิธีจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   กิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิดได้ทำ ได้มีประสบการณ์ เพื่อฝึกการคิดการให้เหตุผล ฝึกการสร้าง การประดิษฐ์ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์และเพื่อการสันทนาการ กิจกรรมประเภทนี้มีมากมาย ตัวอย่างเช่น เกมและปริศนาในทางคณิตศาสตร์ กิจกรรมการพับกระดาษ กิจกรรมสร้างรูปโดยใช้หลักการสมมาตร กิจกรรมการสร้างรูปทรงโดยใช้หลอดกาแฟ หรือลวด เป็นต้น สำหรับเกมนั้นมีมากมายทั้งที่ขายในท้องตลาด ซึ่งเป็นพวกชุดเกมต่าง ๆ และเกมที่มีในหนังสือรวมเกมต่าง ๆการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ อาจจะจัดเป็นโครงการเช่น การจัดนิทรรศการทางคณิตศาสตร์ การศึกษานอกสถานที่ การแข่งขันตอบปัญหาทางคณิตศาสตร์ การจัดตั้งชมรมหรือชุมนุมคณิตศาสตร์ การจัดทำวารสารคณิตศาสตร์ เป็นต้น


          ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

                                                                   ที่มา www.IQlearningtoy.com
                                     ที่มาของวิดีโอhttps://www.youtube.com/watch?v=3U7LqQ6HPbE


สรุป
          จากการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
         สื่อการสอนคณิตศาสตร์แบ่งได้เป็น ประเภท คือ
                1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ 
                      - วัสดุที่ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน
                      - วัสดุจำพวกสิ่งตีพิมพ์
                2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
                3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ

ที่มา
          อุไรวรรณ. (2553). http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ  วันที่ 25 สิงหาคม 2561.
         นิภา แย้มวจี. (2552). http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวัน     ที่ 25 สิงหาคม 2561.
          http://pay-ppp.blogspot.com/2009/08/blog-post_23.htm. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2561.

นวัตกรรม



นวัตกรรม


            http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html ได้รวบรวมไว้ว่าความหมายของนวัตกรรม
            “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
              คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
             ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
             ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
             ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
             นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
              ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
              1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดีบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
              2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
              3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
              4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาลการบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
              นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน


         http://noompaiboon.blogspot.com/2015/09/blog-post.html ได้รวบรวมไว้ว่าความหมายของนวัตกรรมทางการเรียนการสอน (Educationla Innovation)
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 565) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่าหมายถึงสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น
          ทิศนา แขมมณี (2548 : 418) ได้ขยายความหมายของนวัตกรรมจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2525 ออกไปว่าสิ่งทำขึ้นใหม่ ได้แก่ แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัเชดทำขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆทางการศึกษา
          สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547 : 9) กล่าวว่านวัตกรรมการเรียนการสอนคือสื่อการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยผ่าการผลิต การทดลองใช้ ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพแล้วจึงนาไปใช้จริงอย่างได้ผล
          ชนาธิป พรกุล (2537 : 59) อธิบายว่าการเรียนการสอน (Educationla Innovation) คือ สิ่งที่นำเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
          พจนานุกรม Oxford Advanced Learner’s Dictionary (2000 : 618) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า การริเริ่มใช้สิ่งของ ความคิด หรือแนวทางใหม่ๆ ในการทำสิ่งต่างๆขึ้นมา
          สรุปได้ว่านวัตกรรมทางการเรียนการสอนคือสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาดชเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
          นวัตกรรมทางการเรียนการสอน ควรมีลักษณะซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
          1.เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการสอนทั้งหมด เช่น วิธีสอนใหม่ๆ สื่อการสอนใหม่ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
          2.เป็นสิ่งที่ใหม่เพียงบางส่วน เช่น มีการผลิตชุดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แต่ยังคงมีรูปแบบเดิมเป็นหลักอยู่ ตัวอย่างเช่น มีบัตรเนื้อหา บัตรความรู้ บัตรทดสอบ แต่มีการเพิ่มบัตรฝึกทักษะความคิด บัตรงานสำหรับผู้เรียน เป็นต้น
          3.เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่ามีประสิทธิภาพในการนำไปใช้มากน้อยเพียงไร เช่นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรายวิชา
          4.เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้บ้างแล้วแต่ยังแพร่หลายเช่น แหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น มีวนอุทยานแห่งชาติอยู่ในท้องถิ่นนั้นแต่เนื่องจากมีอุปสรรคเกี่ยวกับการเดินทางจึงยังไม่เป็นที่นิยมของสถานศึกษาต่างๆ
          5.เป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนัสนุนต่อมาได้นำมาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพร่จัดว่าเป็นนวัตกรรมได้
ประเภทของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
          พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2550 : 3 ) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนว่านวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจำนวนมากแต่สามารถจำแนกประเภทได้ดั้งนี้
1.นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์  
นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความ
เข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่างๆได้เร็วยิ่งขึ้น นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่
  •   ชุดการเรียน / ชุดการสอน / ชุดการเรียนการสอน
  •   แบบฝึกทักษะ / ชุดการฝึก / ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
  •   บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผงม / บทเรียนโปรแกรม
  •   เกม
  •   การ์ตูน
  •   นิทาน
  •   เอกสารประกอบการเรียนรู้ / เอกสารประกอบการเรียนการสอน / เกสารประกอบการสอน
  • ฯลฯ

2. นวัตกรรมประเภทรูปแบบ / เทคนิค / วิธีการสอน
                   นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆที่นักการศึกษาได้คิดค้นเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้รีเยนทั้งในด้านการความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตนคติ ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก ได้แก่
  •  วิธีการสอนคิด
  •  วิธีการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
  •  CIPPA MODEL
  •  วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
  •   วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
  •   วิธีสอนแบบบรูณาการ
  •   วิธีสอนโครงงาน
  •   วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
  •   Constructivism
  • ฯลฯ

             
          http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305/services1 ได้รวบรวมไว้ว่า นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
           นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
          1. โปรเเกรม GSP
          GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (Animation) มาใช้อธิบาย เนื้อหาที่ยากๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ (เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส), ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ และอื่นๆ ) ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย และโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด 
        2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper (โปรแกรม แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์)
         เป็นโปรแกรมแก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ หรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นโปรแกรม Add-On สำหรับ Microsoft Word มันถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นครับ คือ ช่วยคุณประหยัดเวลาในการเขียนหรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, เคมีและฟิสิกส์ในเอกสาร คุณสามารถที่จะ แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ ใส่ฟังก์ชั่นถึง 1200 ฟังก์ชั่นได้อย่างง่ายๆ กราฟหรือชาร์ตทางฟิสิกส์,เคมีและคณิตศาสตร์ลงในเอกสาร MS Word
        3. E-Learning 
         คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 
ข้อดี เเละ ข้อเสียของนวัตกรรมการศึกษา
 ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
Ø ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
Ø ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
Ø ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
Ø ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
Ø ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Ø ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
Ø ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
Ø ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
Ø ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 
 ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
Ø ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
Ø ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
Ø ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
Ø ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
Ø ลดเวลาในการสอนน้อยลง
Ø สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
Ø ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
Ø ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
Ø ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
Ø ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย
ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ ดังนี้
Ø สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
Ø ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
Ø สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
Ø ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
Ø ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
Ø สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ
 ข้อเสีย
Ø มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ทำให้คนคนแก่ตัวมากขึ้น
Ø ทำให้บทบาทเเละความสัมพันธ์ ของผู้สอนเเละผู้เรียนมีน้อยลง
Ø เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น อาจจะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดเเละสติปัญญาน้อยลง


สรุป
          จากการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการเรียนการสอน  คือสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
           ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
              1. สื่อการเรียนการสอน 
              2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ 
              3. หลักสูตรแบบต่างๆ 
              4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ 
ที่มา
   http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
   http://noompaiboon.blogspot.com/2015/09/blog-post.html. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
   http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305/services1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ



การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
 ความเป็นมาของนันทนาการ
ทวีศักดิ์ ได้รวบรวมไว้ว่า กิจกรรมนันทนาการ เริ่มมีขึ้นมาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งได้ มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคแต่ละสมัยและในแต่ละภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมนั้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดความเครียดทางด้าน จิตใจได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น กิจกรรมนันทนาการ จึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งของประชาชน ที่ต้องการได้รับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน  
       
 ความหมายของนันทนาการ
          นิติ เหมกุล ได้รวบรวมไว้ว่า นันทนาการ เป็นคำมาจากคำเดิมว่า "สันทนาการ" ซึ่งพระยาอนุมานราชธนได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ. 2507 และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "recreation"  กิจกรรมนันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำในเวลาว่างจาการทำภารกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การนอน การพักผ่อน โดยทุกกิจกรรมต้องทำด้วยความเต็มใจโดยไม่มีการบังคับ และเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่นด้วย 
              ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลเลือกทำด้วยความสมัครใจในเวลาว่างโดยมีความพอใจหรือความสุขใจในการทำ กิจกรรมเป็นจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น
       นันทนาการ มีลักษณะสำคัญหลายประการ ได้แก่
1. มีลักษณะเป็นกิจกรรม คือ ต้องมีการกระทำที่ทำให้กล้ามเนื้อหรืออวัยวะส่วนใดส่วน
หนึ่งมีการเคลื่อนที่หากอยู่เฉย ๆ เช่น การนอนหลับหรือพฤติกรรมที่แสดงออกถึง
ความเกียจคร้านไม่ถือว่าเป็นนันทนาการ
2. เป็นกิจกรรมที่ผู้กระทำเข้าร่วมด้วยความสมัครใจไม่มีใครหรือเหตุปัจจัยที่มาบังคับให้
ทำ กิจกรรมนั้นมีความสุขความพอใจที่จะทำและไม่เกิดความตึงเครียดในการทำ กิจ
กรรมนั้น
3. เป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่างว่างจากการทำงานภารกิจประวันและไม่นำเวลาที่
ควรจะนอนหลับพักผ่อนมาทำกิจกรรมนั้นจนเสียสุขภาพ
4. กิจกรรมที่ทำนั้นไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อหารายได้หรือเป็นอาชีพ
5. เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อผู้ประกอบกิจกรรมและเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม
ไม่เป็นอบายมุข

 จุดมุ่งหมายของนันทนาการ
             1. เพื่อพัฒนาอารมณ์
             2. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่
             3. เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์
             4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม
             5. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก
             6. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
             7. เพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษยชาติ
             8. เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี

คุณค่าของนันทนาการ
   คุณค่าของนันทนาการ ที่ให้ผลต่อการเจริญเติบโต   และพัฒนาการในด้านต่างๆ ต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้
1.นันทนาการการรับผลทางด้านจิตใจ 
2.นันทนาการกับผลทางด้านร่างกาย 
3.นันทนาการกับผลทางสังคม

 ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ
            กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท เพื่อให้บุคคลเข้าร่วมทำ กิจกรรมได้ตามความสนใน
ดังนี้
1. การฝีมือและศิลปหัตถกรรม (Arts and crafts) เป็นงานฝีมือหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
เช่น การวาดรูป งานแกะสลัก งานปั้น การประดิษฐ์ดอกไม้ เย็บปักถักร้อย ทำ ตุ๊กตา
ประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้ และงานศิลปะอื่น ๆ
2. เกมกีฬาและกรีฑา (Games, sport and track and fields) กิจกรรมนันทนาการ
ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กีฬากลางแจ้ง
(Outdoor Games) ได้แก่ กีฬาที่ต้องใช้สนามกลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล
และกิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆ กีฬาในร่ม (Indoor Games) ได้แก่ กิจกรรมในโรง
ยิมเนเซียม หรือในห้องนันทนาการ เช่น แบดมินตัน เทเบิ้ลเทนนิส หมากรุก ฯลฯ
3. ดนตรีและร้องเพลง (Music) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความบันเทิงดนตรีเป็น
ภาษาสากลที่ทุกชาติทุกภาษาสามารถเข้าใจเหมือนกันแต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นจะมี
เพลงพื้นบ้านของตนเองและเครื่องดนตรีพื้นบ้านเราสามารถเลือกได้ตามความสนใจ
ไม่ว่าจะเป็นสากลหรือพื้นบ้าน
4. ละครและภาพยนตร์ (Drama) เป็นนันทนาการประเภทให้ความรู้ความบันเทิงความ
สนุกสนานเพลิดเพลินและสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจริงของสังคมยุคนั้น ๆ
5. งานอดิเรก (Hobbies) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันมี
ความสุขเพลิดเพลินงานอดิเรกมีหลายประเภทสามารถเลือกได้ตามความสนใจ
6. กิจกรรมทางสังคม (Social activities) เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนในสังคมร่วมจัดขึ้นโดย
มี จุดมุ่งหมายเดียวกัน เช่น การจัดเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด กานฉลองในโอกาส
พิเศษต่าง ๆ
7. เต้นรำ ฟ้อนรำ (Dance) เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุก
สนาน เช่น เต้นรำ พื้นเมือง การรำ ไทย รำ วง นาฏศิลป์ ลีลาศ
8. กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor activities) เป็นกิจกรรมนันทนาการนอกสถานที่ ที่ให้
โอกาสมนุษย์ได้เรียนรู้ธรรมชาติได้พักผ่อน เช่น การอยู่ค่ายพักแรมไปท่องเที่ยวตาม
แหล่งธรรมชาติ
9. ทัศนศึกษา (Field trip) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรมตามวัดวาอารามหรือศึกษาความ
ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ในนิทรรศการหรืองานแสดงต่าง ๆ
10. กิจกรรมพูด เขียน อ่าน ฟัง (Speaking Writing and Reading) การพูด เขียน อ่าน
ฟัง ที่นับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการ
11. กิจกรรมอาสาสมัคร (Voluntary Recreation) เป็นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่บุคคล
เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนา และกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ

แนวทางการจัดการเรียนรู้
   การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนานักเรียน ผู้ดำเนินการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกิจกรรมนันทนาการ  ควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
               1.กำหนดจุดมุ่งหมายของกิจกรรมแต่ล่ะประเภทให้สอดคล้องกับองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆดังนี้
1.1 ด้านดี หมายถึง ความสามมารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองรู้จักเห็นใจผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
1.2 ด้านเก่ง  หมายถึง  ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
1.3 ด้านความสุข  หมายถึง   ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ด้านการควบคุมอารมณ์ การเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบ  ด้านแรงจูงใจ    การตัดสินใจและแก้ปัญหา   สัมพันธภาพกับบุคคล     ความภูมิใจในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิตและความสุขทางใจ
               2.กำหนดประเภทแบบและกิจกรรมนันทนาการให้สอดคล้องกับ เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา  ค่านิยม  ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ โดยการจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทต่างๆคือ กิจกรรมนันทนาการประเภทเกมกีฬา ศิลปะหัตกรรม กิจกรรมเข้าจังหวะดนตรีและเสียง วรรณกรรม และการละคร เป็นต้น
3.จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการ  ได้แก่  บุคลาการ งบประมาณ  สถานที่และวัสดุอุปกรณ์
4.ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้  โดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจัดมุ่งหมายเหมาะสมกับเวลา สถานที่  และทรัพยากรที่มีอยู่
5.สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เข้าร่วม   และให้กำลังใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอันจะเป็นผลในการปฏิบัติระยะยาวต่อไป
6.ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม การรักษาสิ่งแวดล้อม  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
7.คำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ  และความเหมาะสมกับสถานภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
8.ประเมินผลการจัดกิจกรรมนันทนาการอย่างต่อเนื่อง ทั่งก่อนดำเนินขณะดำเนินการและหลังดำเนินการ
9.สรุปผลและรายงายผลการจัดกิจกรรม เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับอ้างอิงหรือแสดงผลการดำเนินงานและรายงานผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อจะได้ทราบถึงความสำเร็จของการจัดกิจกรรม อีกทั้งควรที่จะแจ้งให้นักเรียนทราบ เพื่อนักเรียนจะได้รับรู้พัฒนาการของตนเองและหาแนวทางพัฒนาตนเองต่อไป

ข้อค้นพบจากการวิจัย
จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการมีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้
1.พัฒนาทางด้านเชาวน์อารมณ์ ได้วิจัยศึกษาผลการจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทชมธรรมชาติ พบว่าการพัฒนาทางด้านอารมณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการตอบสนองต่อปฏิกิริยาทางด้านลบลดลง
2.การลดความเครียดและซึมเศร้า  ได้วิจัยการจัดโปรแกรมนันทนาการกับชายวัย  89 ปี  ซึ่งเป็นโรคเครียดกีบอาการซึมเศร้า ลักษณะของโปรแกรมจะมีการการยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม พบว่าโรคเครียดกับอาการซึมเศร้าได้ลดลงหลังจากทำวิจัย
3.ความเชื่อมั่นใจตัวเอง    ได้วิจัยศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะเป็นกลุ่ม  และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ปกติที่มีต่อความเชื่อในตนเองของเด็ดปฐมวัยที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันและแบบรักทะนุถนอม พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับดารอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันและแบบรักทะนุถนอมที่ กิจกรรมศิลปะสร้างเป็นกลุ่มมีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูงกว่าเด็กที่ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4.ความคิดสร้างสรรค์    ได้วิจัยเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวที่เน้นและจังหวะ โดยใช้กิจกรรมทักษะดนตรี พบว่า เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว  ตามแผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวชั้นอนุบาล ของคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ พบว่า กลุ่มทดลองมีความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่ม  และความคิดสร้างสรรค์ โดย รวมสูงขึ้นและมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว   และความคิดละเอียดลออมากขึ้น
5.พฤติกรรมทางสังคม     ได้วิจัยศึกษาการจัดประสบการณ์ การเล่นพื้นบ้านไทยพบว่า เด็กปฐมวัยก่อนจัดประสบการณ์และระหว่างการจัดประสบการณ์ การเล่นพื้นบ้านไทยในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีคะแนนพฤติกรรมทางสังคมโดยเฉลี่ยรวมมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สอดคล้องกัน

ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ
1.   การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.   ทำให้พักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานปกติ
3.   ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต
4.   ช่วยป้องกันอาชญากรรมและความประพฤติเกเรของเด็ก
5.    เป็นรางวัลให้กับคนที่เข้าร่วม
6.    ส่งเสริมให้เกิดความสุข ความพอใจ
7.    ทำให้เกิดความปลอดภัยแก่สังคม
8.     ช่วยเสริมความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจอันดี ภายในครอบครัว
9.     ส่งเสริมการเป็นพลเมืองที่ดี
10.    ส่งเสริมให้มีการสงวนทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ






ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=25


สรุป
             การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
ความเป็นมาของนันทนาการ
             กิจกรรมนันทนาการ เริ่มมีขึ้นมาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งมาถึงยุคปัจจุบัน
ซึ่งได้ มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคแต่ละสมัยและในแต่ละภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในสังคมที่มีความ
เจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมนั้นๆ 
ความหมายของนันทนาการ 
               นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลเลือกทำด้วยความสมัครใจในเวลาว่างโดยมีความพอใจหรือความสุขใจในการทำ กิจกรรมเป็นจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น
แนวทางการจัดการเรียนรู้
              1.กำหนดจุดมุ่งหมายของกิจกรรม
              2.กำหนดประเภทแบบและกิจกรรมนันทนาการ
3.จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการ  
4.ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้  
5.สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เข้าร่วม   
6.ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม 
7.คำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ  
8.ประเมินผลการจัดกิจกรรมนันทนาการอย่างต่อเนื่อง 
9.สรุปผลและรายงายผลการจัดกิจกรรม 

  ที่มา

               ทวีศักดิ์. https://www.gotoknow.org/posts/154426. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
                นิติ เหมกุล. https://www.gotoknow.org/posts/281190.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
               ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท แด  เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.  
               http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=25 .[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.

             https://sites.google.com/site/pmtech27012212/chiwit-kab-nanthnakar.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์                   อุไรวรรณ ( 2553 ) ได้รวบรวมไว้ว่า   สื่อการสอน   คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิ...