วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิค และวิธีการสอน

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิค และวิธีการสอน

           ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 11 นวัตกรรม ดังนี้
นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้
          1. การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
          2. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)
          3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)
          4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์
          5. การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)
          6. การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)
          7. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg (The triarchic theory of Human Intelligence)
          8. การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
          9. การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)
          10. การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)
          11. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
          12. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value Clarification) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน
          13. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาและภูมิปัญญา มีดังนี้
          14. การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ
          15. การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
          16. การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ
          17.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่ม มีดังนี้
          18. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)
          19. การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)
          20. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
          21. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)
          22. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC
          23. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD
          24. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI
          25. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)
          26. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)
          27. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)
          28. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ
          29. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)
          30. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C.Circles)
          31. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างมโนทัศน์ มีดังนี้
          32. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์
          33. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer)
          34. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)
          35. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)
          36. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping
          37. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้าง ล่วงหน้า (Advance Organizer)       
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านภาษา มีดังนี้
          38. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนตามแนวคิดของบลู๊คสและวิทโธร (Brookes and Withrow)
         39. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบสนทนา
          40. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
          41. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)
          42. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนอ่านแบบ PANORAMA       
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะ มีดังนี้
          43. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
          44. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์  (Situated Learning)
          45. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)
          46. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
          47. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
          48. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)
          49. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Scientific Method)
          50. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
          51. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)
          52. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning Model :       PCLM)
          53. การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)
          54. การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Laboratory Method)
          55. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาสมองและการคิด มีดังนี้
          56. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)
          57. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)
          58. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT
          59. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)
          60. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีดังนี้
          61. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)
          62. การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)
          63. การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะ มีดังนี้
          64. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
          65. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)
          66. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
          67. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
          68. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)
          69. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทวัสดุและสิ่งพิมพ์ มีดังนี้
          70. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
          71. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
          72. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส
          73. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
          74. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
          75. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
          76. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ
 นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทสื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีดังนี้
          77. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
          78. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)
          79. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)
          80. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก

                    วราภรณ์ ศรีวิโรจน์ ได้รวบรวมเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
          1.  การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์กลางเรียน (Learning Center)
          2.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrating Method)
          3. การจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เป็นคู่ (Learning Cell)
          4.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน (The use of Community Activities)
          5. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Group)
          6. การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ (Talents Unlimited)
          7.  การจัดการเรียนรู้แบบหน่วย (Unit Teaching Method)
          8. การจัดการเรียนรู้โดยเรียนจากของเล่น (Learning from Toy)
          9.  การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)
          10. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)
                   เทคนิคการสอนแบบต่างๆ สำหรับครูมืออาชีพ  ได้รวบรวมวิธีการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
          1. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)
          2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
          3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
          4. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)
          5. การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing)
          6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
          7. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
          8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
          9. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
         10.การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
         11.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament)
         12.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw)
         13.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)
         14.การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
         15.การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
       
สรุป
            จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสามารถสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ เทคนิคและวิธีสอน ที่ได้รวบรวมมีทั้งหมด 85 รูปแบบ ดังนี้
          1. การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
          2. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)
          3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)
          4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์
          5. การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)
          6. การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)
          7. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg (The triarchic theory of Human Intelligence)
          8. การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
          9. การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)
          10. การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)
          11. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
          12. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value Clarification) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน
          13. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์
          14. การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ
          15. การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
          16. การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ
          17.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
          18. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)
          19. การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)
          20. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
          21. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)
          22. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC
          23. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD
          24. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI
          25. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)
          26. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)
          27. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)
          28. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ
          29. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)
          30. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C.Circles)
          31. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)
          32. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์
          33. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer)
          34. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)
          35. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)
          36. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping
          37. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้าง ล่วงหน้า (Advance Organizer)       
          38. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนตามแนวคิดของบลู๊คสและวิทโธร (Brookes and Withrow)
          39. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบสนทนา
          40. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
          41. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)
          42. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนอ่านแบบ PANORAMA       
          43. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
          44. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์  (Situated Learning)
          45. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)
          46. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
          47. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
          48. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)
          49. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Scientific Method)
          50. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
          51. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)
          52. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning Model :       PCLM)
          53. การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)
          54. การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Laboratory Method)
          55. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)
          56. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)
          57. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)
          58. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT
          59. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)
          60. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)
          61. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)
          62. การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)
          63. การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS
          64. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
          65. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)
          66. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
          67. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
          68. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)
          69. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
          70. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
          71. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
          72. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส
          73. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
          74. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
          75. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
          76. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ
          77. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
          78. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)
          79. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)
          80. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
          81.  การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์กลางเรียน (Learning Center)
          82.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน (The use of Community Activities)
          83. การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ (Talents Unlimited)
          84.การจัดการเรียนรู้แบบหน่วย (Unit Teaching Method)
          85. การจัดการเรียนรู้โดยเรียนจากของเล่น (Learning from Toy)

ที่มา
        ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
       วราภรณ์  ศรีวิโรจน์. http://edu.pbru.ac.th/e-media/08.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2561.
       https://blog.eduzones.com/moobo/132517. (2557). [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2561.

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning )


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning )


                ลักขณา  สริวัฒน์ ได้รวบรวมไว้ว่า​ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperrative Learning  Theory) ไว้ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperrative Learning  Theory) การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นให้ครูใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากมีรูปแบบการสอนให้เลือกอย่างหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ สำหรับเนื้อหาและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำแนกเป็น 8 เรื่อง ได้แก่ ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือในการสอน

                 ครูบ้านนอก.com (2552) ได้รวบรวมไว้ว่า​ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ไว้ดังนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นอก จากนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 

                สยุมพร ศรีมุงคุณ ได้รวบรวมไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3–6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดีย

สรุป
              ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning ) เป็นทฤษฎีที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยคนในกลุ่มจะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้กันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม  การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 

 ที่มา
          ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
          ครูบ้านนอก.com(2552). https://www.kroobannok.com/25557. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวัน             ที่ 29 กรกฎาคม 2561.
          สยุมพร ศรีมุงคุณ. https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 29กรกฎาคม 2561.

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)



 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

                         ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้รวบรวมไว้ว่า หลักการการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา  ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

                         สายใจ คุณบัวลา (2558) ได้รวบรวมไว้ว่า​ ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ว่า เป็นทฤษฎีการศึกษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี และมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่มีพื้นฐานและแนวคิดให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและเหมาะสมกับนักเรียน โดยอาศัยวัสดุ สื่อ เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาเป็นรูปธรรมจึงจะเกิดการเรียนรู้ ส่วนครูทำหน้าที่เป็นผู้สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดจนอำนวยความสะดวก ที่แนะ ส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด

                         สยุมพร  ศรีมุงคุณ  ได้รวบรวมไว้ว่า​ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ไว้ดังนี้แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

สรุป
           ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  ถ้าผู้เรียนมีโอกาสได้นำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  และความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด ส่วนหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะทำหน้าที่สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งให้คำปรึกษา ส่งเสริม และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด

 ที่มา
      ชุติมา สดเจริญ. (2556).https://www.gotoknow.org/posts/547007. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 29กรกฎาคม 2561.
      สายใจ คุณบัวลา. (2558). http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54920989.pdf. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวัน          ที่ 29 กรกฎาคม 2561.
      สยุมพร  ศรีมุงคุณ. https://www.gotoknow.org/posts/341272.  [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2561.

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) 

http://dontong52.blogspot.com/ ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) วีก็อทสกี้ เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวีก็อทสกี้เน้นความสำคัญของวัฒนธรรม สังคม ละการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา
               วีก็ทสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น คือ
               1) เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือ เชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
               2) เชาว์ปัญญาขั้นสูง คือ เชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอด  วัฒนธรรมให้ โดยใช้ภาษา วีก็อทสกี้ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษา เป็น 3 ขั้น คือ
               - ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม
               - ภาษาที่พูดกับตนเอง (3-7 ขวบ)
               - ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป
สรุปได้ว่าการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ Acting on ไม่ใช่ Taking in

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ เข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ (process of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่ แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน ได้อธิบายว่า Constructivism คือ การ ที่ผู้เรียน ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ของพีอาเจย์ การเรียนรู้เกิดจาก การค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจาก ความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ แต่ละบุคคลได้สร้าง ความรู้ขึ้นและ ทำให้สำเร้จ โดยผ่านกระบวนการ ของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ใน สภาพสมดุล ประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ
1.การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและซึมซาบหรือดูดซึมเอา ประสบการณ์ใหม่ เข้าสู่ประสบการณ์เดิม ที่เหมือนหรือ คล้ายคลึงกัน โดยสมองจะปรับเอาประสบการณ์ใหม่เข้ากับความคิด ความรู้ในโครงสร้างที่เกิดจาก การเรียนรู้เดิมที่มีอยู่
               2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม คือ เมื่อได้ซึมซาบ หรือดูดซึม เอาประสบการณ์ใหม่ เข้าไปในโครงสร้างเดิมแล้ว ก็จะทำการปรับประสบการณ์ใหม่ ให้เข้ากับ ครงสร้างของความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองก่อนแล้ว แต่ถ้าไม่เข้ากันได้ก็จะทำการสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรับประสบการณ์ ใหม่นั้น

สรุป
          ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ โดยการสาธิตให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำ และเรียนรู้ด้วยตัวเองกลไกของความสมดุล  มีกระบวนการ 2 อย่าง คือ
        1.การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) 
  2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation) 
  

ที่มา
        http://dontong52.blogspot.com/ .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25 กรกฎาคม​ 2561.
        http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25 กรกฎาคม​ 2561.
        https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm.[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 
        25  กรกฎาคม​ 2561.

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)


ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)


 https://www.babybestbuy.in.th/shop/thry_of_multiple_intelligencesได้รวบรวมไว้ว่า การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ

http://oknation.nationtv.tv/blog/kunwee/2007/10/10/entry-8 ได้รวบรวมไว้ว่าการ์ดเนอร์ (Gardner, 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา” (Intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถใจการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ซึ่งเขาบอกว่า ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
             เชาว์ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
(1) ชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า “Broca’s Area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์ การแต่งเรื่อง การเล่าเรื่อง เป็นต้น
(2)  เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical Mathematical Intelligence)
ผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นชัดเจน ชอบคิดและทำอะไรตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ขอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
(3) สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Inteligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
(4) เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical Inteligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา แต่ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนไดื้บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่าง ๆ
(5) ชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily-Kinesthetic Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์เท็กซ์ โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ในการเล่นกีฬา และเกมต่าง ๆ การใช้ภาษาท่าทาง การเต้นรำ ฯลฯ
(6) เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence) เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
(7) เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Inteligence) บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป
(8)  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Inteligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 ได้รวบรวมไว้ว่าทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาวน์ ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
             -  เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
             -  สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

สรุป
        เชาว์ปัญญา ของแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกันไป และแต่ละคนนั้น จะมีความสามารถไม่เท่ากัน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้ง พัฒนา เชาว์ปัญญาได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
        เชาวน์ปัญญามี​ 8​ ด้าน​ ดังนี้
             -  เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
             -  สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
             -  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)

ที่มา
 https://www.babybestbuy.in.th/shop/thry_of_multiple_intelligences.[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25  กรกฎาคม​ 2561.
 http://oknation.nationtv.tv/blog/kunwee/2007/10/10/entry-8 .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 2กรกฎาคม​ 2561.
 http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97  .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25  กรกฎาคม​ 2561.


สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์                   อุไรวรรณ ( 2553 ) ได้รวบรวมไว้ว่า   สื่อการสอน   คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิ...