วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ



การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
 ความเป็นมาของนันทนาการ
ทวีศักดิ์ ได้รวบรวมไว้ว่า กิจกรรมนันทนาการ เริ่มมีขึ้นมาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งได้ มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคแต่ละสมัยและในแต่ละภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมนั้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดความเครียดทางด้าน จิตใจได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น กิจกรรมนันทนาการ จึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งของประชาชน ที่ต้องการได้รับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน  
       
 ความหมายของนันทนาการ
          นิติ เหมกุล ได้รวบรวมไว้ว่า นันทนาการ เป็นคำมาจากคำเดิมว่า "สันทนาการ" ซึ่งพระยาอนุมานราชธนได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ. 2507 และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "recreation"  กิจกรรมนันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำในเวลาว่างจาการทำภารกิจส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การกิน การนอน การพักผ่อน โดยทุกกิจกรรมต้องทำด้วยความเต็มใจโดยไม่มีการบังคับ และเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่นด้วย 
              ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลเลือกทำด้วยความสมัครใจในเวลาว่างโดยมีความพอใจหรือความสุขใจในการทำ กิจกรรมเป็นจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น
       นันทนาการ มีลักษณะสำคัญหลายประการ ได้แก่
1. มีลักษณะเป็นกิจกรรม คือ ต้องมีการกระทำที่ทำให้กล้ามเนื้อหรืออวัยวะส่วนใดส่วน
หนึ่งมีการเคลื่อนที่หากอยู่เฉย ๆ เช่น การนอนหลับหรือพฤติกรรมที่แสดงออกถึง
ความเกียจคร้านไม่ถือว่าเป็นนันทนาการ
2. เป็นกิจกรรมที่ผู้กระทำเข้าร่วมด้วยความสมัครใจไม่มีใครหรือเหตุปัจจัยที่มาบังคับให้
ทำ กิจกรรมนั้นมีความสุขความพอใจที่จะทำและไม่เกิดความตึงเครียดในการทำ กิจ
กรรมนั้น
3. เป็นกิจกรรมที่ทำในเวลาว่างว่างจากการทำงานภารกิจประวันและไม่นำเวลาที่
ควรจะนอนหลับพักผ่อนมาทำกิจกรรมนั้นจนเสียสุขภาพ
4. กิจกรรมที่ทำนั้นไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อหารายได้หรือเป็นอาชีพ
5. เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อผู้ประกอบกิจกรรมและเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม
ไม่เป็นอบายมุข

 จุดมุ่งหมายของนันทนาการ
             1. เพื่อพัฒนาอารมณ์
             2. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่
             3. เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์
             4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม
             5. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก
             6. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
             7. เพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษยชาติ
             8. เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี

คุณค่าของนันทนาการ
   คุณค่าของนันทนาการ ที่ให้ผลต่อการเจริญเติบโต   และพัฒนาการในด้านต่างๆ ต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้
1.นันทนาการการรับผลทางด้านจิตใจ 
2.นันทนาการกับผลทางด้านร่างกาย 
3.นันทนาการกับผลทางสังคม

 ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ
            กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท เพื่อให้บุคคลเข้าร่วมทำ กิจกรรมได้ตามความสนใน
ดังนี้
1. การฝีมือและศิลปหัตถกรรม (Arts and crafts) เป็นงานฝีมือหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
เช่น การวาดรูป งานแกะสลัก งานปั้น การประดิษฐ์ดอกไม้ เย็บปักถักร้อย ทำ ตุ๊กตา
ประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้ และงานศิลปะอื่น ๆ
2. เกมกีฬาและกรีฑา (Games, sport and track and fields) กิจกรรมนันทนาการ
ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กีฬากลางแจ้ง
(Outdoor Games) ได้แก่ กีฬาที่ต้องใช้สนามกลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล
และกิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆ กีฬาในร่ม (Indoor Games) ได้แก่ กิจกรรมในโรง
ยิมเนเซียม หรือในห้องนันทนาการ เช่น แบดมินตัน เทเบิ้ลเทนนิส หมากรุก ฯลฯ
3. ดนตรีและร้องเพลง (Music) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความบันเทิงดนตรีเป็น
ภาษาสากลที่ทุกชาติทุกภาษาสามารถเข้าใจเหมือนกันแต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นจะมี
เพลงพื้นบ้านของตนเองและเครื่องดนตรีพื้นบ้านเราสามารถเลือกได้ตามความสนใจ
ไม่ว่าจะเป็นสากลหรือพื้นบ้าน
4. ละครและภาพยนตร์ (Drama) เป็นนันทนาการประเภทให้ความรู้ความบันเทิงความ
สนุกสนานเพลิดเพลินและสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจริงของสังคมยุคนั้น ๆ
5. งานอดิเรก (Hobbies) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันมี
ความสุขเพลิดเพลินงานอดิเรกมีหลายประเภทสามารถเลือกได้ตามความสนใจ
6. กิจกรรมทางสังคม (Social activities) เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนในสังคมร่วมจัดขึ้นโดย
มี จุดมุ่งหมายเดียวกัน เช่น การจัดเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด กานฉลองในโอกาส
พิเศษต่าง ๆ
7. เต้นรำ ฟ้อนรำ (Dance) เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุก
สนาน เช่น เต้นรำ พื้นเมือง การรำ ไทย รำ วง นาฏศิลป์ ลีลาศ
8. กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor activities) เป็นกิจกรรมนันทนาการนอกสถานที่ ที่ให้
โอกาสมนุษย์ได้เรียนรู้ธรรมชาติได้พักผ่อน เช่น การอยู่ค่ายพักแรมไปท่องเที่ยวตาม
แหล่งธรรมชาติ
9. ทัศนศึกษา (Field trip) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรมตามวัดวาอารามหรือศึกษาความ
ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ในนิทรรศการหรืองานแสดงต่าง ๆ
10. กิจกรรมพูด เขียน อ่าน ฟัง (Speaking Writing and Reading) การพูด เขียน อ่าน
ฟัง ที่นับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการ
11. กิจกรรมอาสาสมัคร (Voluntary Recreation) เป็นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่บุคคล
เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนา และกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ

แนวทางการจัดการเรียนรู้
   การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนานักเรียน ผู้ดำเนินการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกิจกรรมนันทนาการ  ควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
               1.กำหนดจุดมุ่งหมายของกิจกรรมแต่ล่ะประเภทให้สอดคล้องกับองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆดังนี้
1.1 ด้านดี หมายถึง ความสามมารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองรู้จักเห็นใจผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
1.2 ด้านเก่ง  หมายถึง  ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
1.3 ด้านความสุข  หมายถึง   ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ด้านการควบคุมอารมณ์ การเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบ  ด้านแรงจูงใจ    การตัดสินใจและแก้ปัญหา   สัมพันธภาพกับบุคคล     ความภูมิใจในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิตและความสุขทางใจ
               2.กำหนดประเภทแบบและกิจกรรมนันทนาการให้สอดคล้องกับ เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา  ค่านิยม  ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ โดยการจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทต่างๆคือ กิจกรรมนันทนาการประเภทเกมกีฬา ศิลปะหัตกรรม กิจกรรมเข้าจังหวะดนตรีและเสียง วรรณกรรม และการละคร เป็นต้น
3.จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการ  ได้แก่  บุคลาการ งบประมาณ  สถานที่และวัสดุอุปกรณ์
4.ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้  โดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจัดมุ่งหมายเหมาะสมกับเวลา สถานที่  และทรัพยากรที่มีอยู่
5.สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เข้าร่วม   และให้กำลังใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการอันจะเป็นผลในการปฏิบัติระยะยาวต่อไป
6.ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม การรักษาสิ่งแวดล้อม  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
7.คำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ  และความเหมาะสมกับสถานภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
8.ประเมินผลการจัดกิจกรรมนันทนาการอย่างต่อเนื่อง ทั่งก่อนดำเนินขณะดำเนินการและหลังดำเนินการ
9.สรุปผลและรายงายผลการจัดกิจกรรม เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับอ้างอิงหรือแสดงผลการดำเนินงานและรายงานผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อจะได้ทราบถึงความสำเร็จของการจัดกิจกรรม อีกทั้งควรที่จะแจ้งให้นักเรียนทราบ เพื่อนักเรียนจะได้รับรู้พัฒนาการของตนเองและหาแนวทางพัฒนาตนเองต่อไป

ข้อค้นพบจากการวิจัย
จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการมีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้
1.พัฒนาทางด้านเชาวน์อารมณ์ ได้วิจัยศึกษาผลการจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทชมธรรมชาติ พบว่าการพัฒนาทางด้านอารมณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการตอบสนองต่อปฏิกิริยาทางด้านลบลดลง
2.การลดความเครียดและซึมเศร้า  ได้วิจัยการจัดโปรแกรมนันทนาการกับชายวัย  89 ปี  ซึ่งเป็นโรคเครียดกีบอาการซึมเศร้า ลักษณะของโปรแกรมจะมีการการยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม พบว่าโรคเครียดกับอาการซึมเศร้าได้ลดลงหลังจากทำวิจัย
3.ความเชื่อมั่นใจตัวเอง    ได้วิจัยศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะเป็นกลุ่ม  และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ปกติที่มีต่อความเชื่อในตนเองของเด็ดปฐมวัยที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันและแบบรักทะนุถนอม พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับดารอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันและแบบรักทะนุถนอมที่ กิจกรรมศิลปะสร้างเป็นกลุ่มมีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูงกว่าเด็กที่ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4.ความคิดสร้างสรรค์    ได้วิจัยเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวที่เน้นและจังหวะ โดยใช้กิจกรรมทักษะดนตรี พบว่า เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว  ตามแผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวชั้นอนุบาล ของคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ พบว่า กลุ่มทดลองมีความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่ม  และความคิดสร้างสรรค์ โดย รวมสูงขึ้นและมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดคล่องแคล่ว   และความคิดละเอียดลออมากขึ้น
5.พฤติกรรมทางสังคม     ได้วิจัยศึกษาการจัดประสบการณ์ การเล่นพื้นบ้านไทยพบว่า เด็กปฐมวัยก่อนจัดประสบการณ์และระหว่างการจัดประสบการณ์ การเล่นพื้นบ้านไทยในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีคะแนนพฤติกรรมทางสังคมโดยเฉลี่ยรวมมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สอดคล้องกัน

ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ
1.   การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.   ทำให้พักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานปกติ
3.   ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต
4.   ช่วยป้องกันอาชญากรรมและความประพฤติเกเรของเด็ก
5.    เป็นรางวัลให้กับคนที่เข้าร่วม
6.    ส่งเสริมให้เกิดความสุข ความพอใจ
7.    ทำให้เกิดความปลอดภัยแก่สังคม
8.     ช่วยเสริมความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจอันดี ภายในครอบครัว
9.     ส่งเสริมการเป็นพลเมืองที่ดี
10.    ส่งเสริมให้มีการสงวนทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ






ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=25


สรุป
             การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
ความเป็นมาของนันทนาการ
             กิจกรรมนันทนาการ เริ่มมีขึ้นมาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งมาถึงยุคปัจจุบัน
ซึ่งได้ มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคแต่ละสมัยและในแต่ละภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในสังคมที่มีความ
เจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมนั้นๆ 
ความหมายของนันทนาการ 
               นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลเลือกทำด้วยความสมัครใจในเวลาว่างโดยมีความพอใจหรือความสุขใจในการทำ กิจกรรมเป็นจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น
แนวทางการจัดการเรียนรู้
              1.กำหนดจุดมุ่งหมายของกิจกรรม
              2.กำหนดประเภทแบบและกิจกรรมนันทนาการ
3.จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการ  
4.ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้  
5.สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เข้าร่วม   
6.ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม 
7.คำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ  
8.ประเมินผลการจัดกิจกรรมนันทนาการอย่างต่อเนื่อง 
9.สรุปผลและรายงายผลการจัดกิจกรรม 

  ที่มา

               ทวีศักดิ์. https://www.gotoknow.org/posts/154426. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
                นิติ เหมกุล. https://www.gotoknow.org/posts/281190.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
               ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท แด  เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.  
               http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=25 .[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.

             https://sites.google.com/site/pmtech27012212/chiwit-kab-nanthnakar.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์                   อุไรวรรณ ( 2553 ) ได้รวบรวมไว้ว่า   สื่อการสอน   คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิ...