นวัตกรรม
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน
แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ
การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่
เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph
Schumpeter ใน The Theory of Economic
Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์
การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก
นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย
คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า“นวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน
จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม
เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม
เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม
ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ
หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร”
(Innovator) (boonpan edt01.htm)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี
บทเรียนซีดีบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน
แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ
วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น
หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ
การบริหารแบบธรรมาภิบาลการบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด
หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ
ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ
แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
http://noompaiboon.blogspot.com/2015/09/blog-post.html
ได้รวบรวมไว้ว่าความหมายของนวัตกรรมทางการเรียนการสอน (Educationla
Innovation)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 565)
ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่าหมายถึงสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด
วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น
ทิศนา แขมมณี (2548 : 418)
ได้ขยายความหมายของนวัตกรรมจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ออกไปว่าสิ่งทำขึ้นใหม่ ได้แก่ แนวคิด แนวทาง
ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัเชดทำขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆทางการศึกษา
สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547 : 9)
กล่าวว่านวัตกรรมการเรียนการสอนคือสื่อการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
โดยผ่าการผลิต การทดลองใช้ ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพแล้วจึงนาไปใช้จริงอย่างได้ผล
ชนาธิป พรกุล (2537 : 59) อธิบายว่าการเรียนการสอน (Educationla
Innovation) คือ
สิ่งที่นำเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
พจนานุกรม Oxford Advanced Learner’s Dictionary (2000 : 618) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า
การริเริ่มใช้สิ่งของ ความคิด หรือแนวทางใหม่ๆ ในการทำสิ่งต่างๆขึ้นมา
สรุปได้ว่านวัตกรรมทางการเรียนการสอนคือสิ่งใหม่ๆ
ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาดชเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
คุณลักษณะของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
นวัตกรรมทางการเรียนการสอน ควรมีลักษณะซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1.เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการสอนทั้งหมด เช่น วิธีสอนใหม่ๆ สื่อการสอนใหม่
ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
2.เป็นสิ่งที่ใหม่เพียงบางส่วน เช่น มีการผลิตชุดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
แต่ยังคงมีรูปแบบเดิมเป็นหลักอยู่ ตัวอย่างเช่น มีบัตรเนื้อหา บัตรความรู้ บัตรทดสอบ
แต่มีการเพิ่มบัตรฝึกทักษะความคิด บัตรงานสำหรับผู้เรียน เป็นต้น
3.เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่ามีประสิทธิภาพในการนำไปใช้มากน้อยเพียงไร
เช่นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรายวิชา
4.เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้บ้างแล้วแต่ยังแพร่หลายเช่น
แหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น
มีวนอุทยานแห่งชาติอยู่ในท้องถิ่นนั้นแต่เนื่องจากมีอุปสรรคเกี่ยวกับการเดินทางจึงยังไม่เป็นที่นิยมของสถานศึกษาต่างๆ
5.เป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนัสนุนต่อมาได้นำมาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพร่จัดว่าเป็นนวัตกรรมได้
ประเภทของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2550 : 3 )
ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนว่านวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจำนวนมากแต่สามารถจำแนกประเภทได้ดั้งนี้
1.นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์
นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความ
เข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน
หรือทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่างๆได้เร็วยิ่งขึ้น
นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่
- ชุดการเรียน / ชุดการสอน / ชุดการเรียนการสอน
- แบบฝึกทักษะ / ชุดการฝึก / ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
- บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผงม / บทเรียนโปรแกรม
- เกม
- การ์ตูน
- นิทาน
- เอกสารประกอบการเรียนรู้ / เอกสารประกอบการเรียนการสอน / เกสารประกอบการสอน
- ฯลฯ
2. นวัตกรรมประเภทรูปแบบ / เทคนิค / วิธีการสอน
นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆที่นักการศึกษาได้คิดค้นเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้รีเยนทั้งในด้านการความรู้
ทักษะกระบวนการ และเจตนคติ ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก ได้แก่
- วิธีการสอนคิด
- วิธีการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
- CIPPA MODEL
- วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
- วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
- วิธีสอนแบบบรูณาการ
- วิธีสอนโครงงาน
- วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
- Constructivism
- ฯลฯ
http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305/services1 ได้รวบรวมไว้ว่า
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ
นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา”
(Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ
(Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
1. โปรเเกรม GSP
GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (Animation) มาใช้อธิบาย
เนื้อหาที่ยากๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ (เรขาคณิต
พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส), ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ และอื่นๆ )
ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย
และโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์
ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด
2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper
(โปรแกรม แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์)
เป็นโปรแกรมแก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ หรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นโปรแกรม Add-On สำหรับ Microsoft Word มันถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นครับ คือ ช่วยคุณประหยัดเวลาในการเขียนหรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, เคมีและฟิสิกส์ในเอกสาร
คุณสามารถที่จะ แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ ใส่ฟังก์ชั่นถึง 1200 ฟังก์ชั่นได้อย่างง่ายๆ
กราฟหรือชาร์ตทางฟิสิกส์,เคมีและคณิตศาสตร์ลงในเอกสาร MS
Word
3. E-Learning
คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ
หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์
หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น
ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based
Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ
การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
ข้อดี เเละ ข้อเสียของนวัตกรรมการศึกษา
ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
Ø ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
Ø ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
Ø ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
Ø ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
Ø ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา
ทุกสถานที่ ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Ø ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
Ø ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
Ø ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
Ø ฝึกให้ผู้เรียน
คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
Ø ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
Ø ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
Ø ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น
จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
Ø ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
Ø ลดเวลาในการสอนน้อยลง
Ø สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
Ø ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
Ø ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
Ø ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
Ø ง่ายในการประเมิน
เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย
ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ ดังนี้
Ø สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
Ø ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
Ø สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
Ø ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
Ø ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
Ø สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ
ข้อเสีย
Ø มีการแข่งขันกันสูงขึ้น
ทำให้คนคนแก่ตัวมากขึ้น
Ø ทำให้บทบาทเเละความสัมพันธ์
ของผู้สอนเเละผู้เรียนมีน้อยลง
Ø เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น
อาจจะทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดเเละสติปัญญาน้อยลง
สรุป
จากการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการเรียนการสอน คือสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
จากการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการเรียนการสอน คือสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ
4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ
ที่มา
http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่
26 สิงหาคม 2561.
http://noompaiboon.blogspot.com/2015/09/blog-post.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น