ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory
of Cooperative or Collaborative Learning )
ลักขณา สริวัฒน์ ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Cooperrative Learning Theory) ไว้ดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperrative Learning Theory) การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นให้ครูใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องจากมีรูปแบบการสอนให้เลือกอย่างหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ
สำหรับเนื้อหาและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำแนกเป็น 8 เรื่อง ได้แก่ ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
และการประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือในการสอน
ครูบ้านนอก.com
(2552) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ไว้ดังนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative
Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง
ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย
โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน
เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน
สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นอก จากนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ
ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย
เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สยุมพร ศรีมุงคุณ ได้รวบรวมไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3–6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน
ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้
มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดีย
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning ) เป็นทฤษฎีที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยคนในกลุ่มจะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้กันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning ) เป็นทฤษฎีที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยคนในกลุ่มจะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้กันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ที่มา
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ครูบ้านนอก.com(2552). https://www.kroobannok.com/25557. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวัน ที่ 29 กรกฎาคม 2561.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 29กรกฎาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น