ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้รวบรวมไว้ว่า หลักการการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน
ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน
มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี
ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
สายใจ คุณบัวลา (2558) ได้รวบรวมไว้ว่า ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ว่า
เป็นทฤษฎีการศึกษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
และมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่มีพื้นฐานและแนวคิดให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและเหมาะสมกับนักเรียน
โดยอาศัยวัสดุ สื่อ
เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาเป็นรูปธรรมจึงจะเกิดการเรียนรู้
ส่วนครูทำหน้าที่เป็นผู้สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ตลอดจนอำนวยความสะดวก ที่แนะ ส่งเสริม สนับสนุน
กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดและการทำกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
สยุมพร ศรีมุงคุณ ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ไว้ดังนี้แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง ถ้าผู้เรียนมีโอกาสได้นำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด ส่วนหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะทำหน้าที่สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งให้คำปรึกษา ส่งเสริม และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง ถ้าผู้เรียนมีโอกาสได้นำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด ส่วนหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะทำหน้าที่สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งให้คำปรึกษา ส่งเสริม และกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดและการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
ที่มา
ชุติมา สดเจริญ. (2556).https://www.gotoknow.org/posts/547007. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 29กรกฎาคม 2561.
สายใจ คุณบัวลา. (2558). http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54920989.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวัน ที่ 29 กรกฎาคม 2561.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น