วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)


ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)


ทิศนา แขมมณี (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จวบจนปัจจุบัน คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้คือ
                                1. การรับข้อมูล ( input ) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
                                2. การเข้ารหัส ( encoding ) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ ( software )
                                3. การส่งข้อมูลออก ( output ) โดยผ่านทางอุปกรณ์
                กระบวนการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก ( recognition ) และความใส่ใจ ( attention ) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า ซึ่งจะดำรงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก ในการทำงานที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำสิ่งนั้นไว้ใช้งานได้ การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส ( encoding ) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว ( long term memory ) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง ความจำระยะยาวนี้มี 2 ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา ( semantic ) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ ( episodic ) นอกจากนั้นยังอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความจำประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว ( motoric memory ) หรือความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก ( affective memory )กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลจะได้รับการบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่งซึ่งหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว ก็คือโปรแกรมสั่งงานหรือ “ software ” นั่นเอง
                ดังนั้น ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นหรือการรู้คิด  ( metacognitive knowledge ) จึงมักประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล ( person ) งาน ( task ) และกลวิธี ( strategy )
                ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แพริสและคณะ (1983) ได้จำแนกความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นออกเป็น 3 ประเภท เช่นเดียวกัน ได้แก่
                                1.ความรู้ในเชิงปัจจัย ( declarative knowledge )
                                2.ความรู้เชิงกระบวนการ ( procedural knowledge )
                                3.ความรู้เชิงเงื่อนไข ( conditional knowledge )

นงลักษณ์ เฉลิมวัตร ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีเริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน ชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ ในที่นี้ จะใช้เรียกว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์

http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้ เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

สรุป
         ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) ป็นทฤษฏีที่ศึกษากระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ และเปรียบเทียบว่าการทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)
              3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์ 
          หลักการจัดการเรียนสอนตามทฤษฏีนี้ คือ นำสิ่งที่ผู้เรียนรู้จัก และฝึกจำให้สาระนั้นเข้าหน่วยความจำระยะยาว เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน 

ที่มา
         ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. ด่าน               สุทธาการพิมพ์ : กรุงเทพฯ.
         นงลักษณ์ เฉลิมวัตร . http://kroomtara0092.blogspot.com/p/information-processing-theory.html.
         [ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25 กรกฎาคม​ 2561.
     http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25 กรกฎาคม​ 2561.

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)


พรหมมา วิหคไพบูลย์ (2558) ได้รวบรวมไว้ว่า​ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น ดังนี้ 
                             ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ (Gaining attention) 
                             ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์ (Informing the learning) 
                             ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น (Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
                             ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่ (Presenting the stimulus) 
                             ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้ (Providing learning guidance) 
                             ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ (Eliciting the performance) 
                             ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) 
                             ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (Assessing the performance) 
                             ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Enhancing retention and transfer)

               https://www.kroobannok.com/92 ได้รวบรวมไว้ว่าโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
               1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
               2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) การที่ผู้เรียนทราบถึงขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหา ในส่วนใหญ่ได้ ซึ่งมีผลทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
               3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบทเรียนใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้
               4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)  ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่างเดียว
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)  หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว
               7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ผลจากการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การให้ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าว ถ้านำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจ ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
               8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว

http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0​ ได้รวบรวมไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้
               ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
               ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
               ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned   capabilities)
               ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
               ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
               ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
               ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
               ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
               ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) เป็นทฤษฎีที่ผสมผสานความรู้หลายประเภทที่เข้าใจได้ง่าย เข้าใจได้ยาก  และยังมีความซับซ้อนมาก  จึงได้มีการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบจากง่ายไปหายาก 9 ข้อ  ดังนี้ 
1. สร้างความสนใจ(Gaining attention)  ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
2. แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหา
              3. กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned   capabilities) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้
              4.  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น
              5. ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
              6. ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่าน
7. ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)  จะช่วยให้ปรับพฤติกรรม และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
8. ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง ว่าสามารถเรียนบทเรียนต่อไปได้ไหมหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาบทเรียนนั้นใหม่
9. ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer) จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียน จะสรุปเนื้อหาที่สำคัญๆเป็นการทบทวนความรู้และนำไปใช้ในบทเรียนต่อไปได้

ที่มา
     พรหมมา วิหคไพบูลย์.(2558). http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อ       วันที่​ 25  กรกฎาคม​ 2561.
     https://www.kroobannok.com/92​ .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25 กรกฎาคม​ 2561.
     http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0 .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 25 กรกฎาคม​ 2561.

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism )


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism )


สยุมพร  ศรีมุงคุณ  ได้รวบรวมไว้ว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)  นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  ทฤษฏีและ 5 แนวคิด  คือ 
               -   ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
                -   ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ  ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น  ปลอดภัย  ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
               -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์  เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง    หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง  ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า  ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
                -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
                -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้  คือ  การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ


https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-kar-reiyn-ru/thvsdi-kar-reiyn-ru-klum-mnusy-niym ได้รวบรวมไว้ว่า  กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง มีอารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์ เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ
          1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
          2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
          3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ การที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง


http://dontong52.blogspot.com/ ได้รวบรวมไว้ว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่ามีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคม ดนเลส์ แฟร์ อิลลิซ และนีล
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962)
               1) มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับชั้น
               2) มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
              ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers)
               1) การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
               2) ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว
               3) ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
               แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs)
               โคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียน มีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
               แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles)
               1) ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
               2) การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
               3) มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการ
               4) มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
               5) มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ
               แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)
เปาโล แฟร์ เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
                แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอลลิช (Illich)
               อิวาน อิลลิช ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
                แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil)
               นีล กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดี
สรุป
           
        ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism ) จะให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ และมนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ มีความคิด มีสมอง หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ  มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น  ครูสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตน และคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ที่มา​      
      สยุมพร  ศรีมุงคุณ . https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 24 กรกฎาคม​ 2561.
      https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-kar-reiyn-ru/thvsdi-kar-reiyn-ru-klum-mnusy- niym .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​  24 กรกฎาคม​ 2561.
      http://dontong52.blogspot.com/.[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 24 กรกฎาคม​ 2561.




ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ( Cognitivism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม  ( Cognitivism)



สยุมพร  ศรีมุงคุณ ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม  ( Cognitivism)  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  ทฤษฏี  คือ   
-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้ 
 -   ทฤษฎีสนาม (Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
 -   ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)  ของทอลแมน ( Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย 
 -   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน 
 -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย 
              
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดัง นี้กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ กลุ่มพุทธินิยม : อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด วิเคราะห์ และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


https://www.slideshare.net/NarachaNong/ss-61002894 ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เน้นกระบวนการ ทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิด กลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์ มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่ เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของ ข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหา ต่างๆ ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทา (active) และสร้างความรู้ ซึ่งจิตวิทยาConstructivists มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้หรือการสร้าง

สรุป
       ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม  ( Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การ วางแผน และความตั้งใจ​  ส่งเสริมประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างเหมาะสม​ สร้างแรงจูงใจในการจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและจิตวิทยาเพื่อดึงดูดความสนใจ​ และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหา​ ​มีความคิดสร้างสรรค์  และเกิดการเรียนรู้โดยผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือทำด้วยตนเอง


ที่มา​      
  สยุมพร  ศรีมุงคุณ . https://www.gotoknow.org/posts/341272.[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 16 กรกฎาคม​ 2561.
 http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 16 กรกฎาคม​ 2561.
https://www.slideshare.net/NarachaNong/ss-61002894.[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 16​ กรกฎาคม​ 2561.

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)


กิตติ ยกเทพ ได้รวบรวมไว้ว่า นักคิด นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม” มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้
            ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด ดังต่อไปนี้
1.  ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
2.  ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
3.  ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)

พรหมมา วิหคไพบูลย์​ (2558) ได้รวบรวมไว้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
              -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์(Thorndike)  มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมาก ที่สุด  เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว  บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว  และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
               -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้  1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ  3)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก  4)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
                 -   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด  การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน

https://sites.google.com/site/psychologymcu5/citwithya-kar-reiyn-ru/2-5-thvsdi-kar-reiyn-ru/2-5-1-thvsti-phvtikrrm-niym ได้รวบรวมไว้ว่า กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอกหรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) มีดังนี้
              ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classical Conditioning) หรือการตอบสนองที่ถูกกระตุ้น โดยสิ่งเร้าที่ปรากฏชัดเจนในสถานการณ์การเรียนรู้ นักจิตวิทยาที่สำคัญในทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov) เป็นผู้ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skin ner’s Operant Conditioning Theory)มีความคิดว่าพฤติกรรมของอินทรีย์จะเกิดขึ้นเพราะอินทรีย์เป็นผู้กระทำหรือส่งออก (Emit) มากกว่าเกิดขึ้นเพราะถูกสิ่งเร้าดึงให้ออกมา พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า ตามคำอธิบายของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า “พฤติกรรม” ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ     สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน  พฤติกรรม  และผลที่ได้รับ
               ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory )ได้ให้กำเนิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) ทั้งนี้เพราะ เขาถือว่าการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหา เพราะเมื่อผู้เรียนพบปัญหา เขาจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก Trial and Error นั่นคือ ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบผลสำเร็จในที่สุด โดยที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งเร้าหรือปัญหาด้วยการตอบสนองที่เหมาะสมได้

สรุป
          ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นทฤษฎีที่มองว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นกลาง​ พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า​ และพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้   ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ​ 3 แนวคิด
1.   ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
จะเน้นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบลองผิดลองถูก​ และฝึกให้นำการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้
2.   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
จะเน้นการเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน จัดกิจกรรมและให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่
จะเรียนรู้
3.   ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
              จะคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถ​ และเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด​  และให้ทางเลือกที่​        
              หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน


ที่มา​      
    กิตติ ยกเทพ. https://www.gotoknow.org/posts/510835.[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 16 กรกฎาคม​ 2561.
    พรหมมา วิหคไพบูลย์ . (2558).http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อ      วันที่​ 16 กรกฎาคม​ 2561.
     https://sites.google.com/site/psychologymcu5/citwithya-kar-reiyn-ru/2-5-thvsdi-kar-reiyn-ru/2-5-1- thvstiphvtikrrm-niym .[ออนไลน์]​ เข้าถึงเมื่อวันที่​ 16​ กรกฎาคม​ 2561.

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์                   อุไรวรรณ ( 2553 ) ได้รวบรวมไว้ว่า   สื่อการสอน   คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิ...