ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
กิตติ
ยกเทพ ได้รวบรวมไว้ว่า นักคิด
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ
ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ
เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม” มาก
เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
พรหมมา
วิหคไพบูลย์ (2558) ได้รวบรวมไว้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ ”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ
3 แนวด้วยกัน คือ
- ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical
Connectionism) ของธอร์นไดค์(Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมาก ที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning
Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนี้ 1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ
(Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical
Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s
Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์
(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s
Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน
https://sites.google.com/site/psychologymcu5/citwithya-kar-reiyn-ru/2-5-thvsdi-kar-reiyn-ru/2-5-1-thvsti-phvtikrrm-niym ได้รวบรวมไว้ว่า กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอกหรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism) มีดังนี้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classical Conditioning) หรือการตอบสนองที่ถูกกระตุ้น
โดยสิ่งเร้าที่ปรากฏชัดเจนในสถานการณ์การเรียนรู้
นักจิตวิทยาที่สำคัญในทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov) เป็นผู้ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์
(Skin ner’s Operant Conditioning Theory)มีความคิดว่าพฤติกรรมของอินทรีย์จะเกิดขึ้นเพราะอินทรีย์เป็นผู้กระทำหรือส่งออก
(Emit) มากกว่าเกิดขึ้นเพราะถูกสิ่งเร้าดึงให้ออกมา
พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า
ตามคำอธิบายของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า “พฤติกรรม”
ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ
สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน พฤติกรรม และผลที่ได้รับ
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s
Connectionism Theory )ได้ให้กำเนิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S)
กับการตอบสนอง (R) ทั้งนี้เพราะ
เขาถือว่าการเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหา เพราะเมื่อผู้เรียนพบปัญหา
เขาจะมีปฏิกิริยาแบบเดาสุ่มซึ่งเป็นการลองผิดลองถูก Trial and Error นั่นคือ ผู้เรียนจะลองทำหลายวิธี จนกระทั่งประสบผลสำเร็จในที่สุด
โดยที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งเร้าหรือปัญหาด้วยการตอบสนองที่เหมาะสมได้
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism) เป็นทฤษฎีที่มองว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นกลาง
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ
3 แนวคิด
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
(Thorndike’s Connectionism Theory)
จะเน้นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบลองผิดลองถูก และฝึกให้นำการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
(Conditioning Theory)
จะเน้นการเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน จัดกิจกรรมและให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่
จะเรียนรู้
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์
(Hull’s Systematic Behavior Theory)
จะคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ และเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด และให้ทางเลือกที่
หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน
ที่มา
กิตติ ยกเทพ. https://www.gotoknow.org/posts/510835.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561.
พรหมมา วิหคไพบูลย์ . (2558).http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2561.
https://sites.google.com/site/psychologymcu5/citwithya-kar-reiyn-ru/2-5-thvsdi-kar-reiyn-ru/2-5-1- thvstiphvtikrrm-niym .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น