ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)
พรหมมา
วิหคไพบูลย์ (2558)
ได้รวบรวมไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ
(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์
(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น
(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่
(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้
(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ
(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ
(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์
(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้
(Enhancing retention and transfer)
https://www.kroobannok.com/92 ได้รวบรวมไว้ว่า โรเบิร์ต กาเย่
(Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ
มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์
เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์
หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1. เร่งเร้าความสนใจ
(Gain Attention) ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify
Objective) การที่ผู้เรียนทราบถึงขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหา
ในส่วนใหญ่ได้ ซึ่งมีผลทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ทบทวนความรู้เดิม
(Activate Prior Knowledge) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน
ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบทเรียนใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่
(Present New Information) ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ
จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น
และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่างเดียว
5.
ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้
(Condition of Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี
หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
6.
กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit
Response) หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด
ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม
จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ
(Provide Feedback) ผลจากการวิจัยพบว่า
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น
ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน
และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด
การให้ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าว ถ้านำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจ
ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
8. ทดสอบความรู้ใหม่
(Assess Performance) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง
นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่
9.
สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้
จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ
รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว
http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0 ได้รวบรวมไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ ความรู้มีหลายประเภท
บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง
บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9
ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย
(Gagne’s eclecticism) เป็นทฤษฎีที่ผสมผสานความรู้หลายประเภทที่เข้าใจได้ง่าย
เข้าใจได้ยาก และยังมีความซับซ้อนมาก จึงได้มีการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบจากง่ายไปหายาก
9 ข้อ ดังนี้
1.
สร้างความสนใจ(Gaining attention) ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
2. แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหา
3. กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้
3. กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้
4. เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ
จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น
5. ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
6. ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่าน
5. ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
6. ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่าน
7. ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) จะช่วยให้ปรับพฤติกรรม และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
8.
ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the
performance) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง
ว่าสามารถเรียนบทเรียนต่อไปได้ไหมหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาบทเรียนนั้นใหม่
9. ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing
retention and transfer) จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียน
จะสรุปเนื้อหาที่สำคัญๆเป็นการทบทวนความรู้และนำไปใช้ในบทเรียนต่อไปได้
ที่มา
พรหมมา วิหคไพบูลย์.(2558).
http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2561.
https://www.kroobannok.com/92 .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.
http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0 .[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น